ผักชี
ผักชี สรรพคุณดียังไง ทำไมคนญี่ปุ่นถึงฮิตกินผักชีหนักมาก มาทำความรู้จักประโยชน์ของผักชี ผักดี ๆ ใกล้ตัวเรากันค่ะ
ผักชี สรรพคุณดียังไง ทำไมคนญี่ปุ่นถึงฮิตกินผักชีหนักมาก มาทำความรู้จักประโยชน์ของผักชี ผักดี ๆ ใกล้ตัวเรากันค่ะ
กลิ่นและสีของผักชีมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และค่อนข้างแรงจนหลายคนอาจรู้สึกยี้ผักชนิดนี้เข้าอย่างจัง ทั้ง ๆ ที่สรรพคุณของผักชีเรียกได้ว่าดีตั้งแต่รากยันใบ ดังนั้นต่อไปหากเจอผักชีอยู่ในจานอาหารก็อย่าเพิ่งเขี่ยทิ้งนะคะ เพราะขนาดคนญี่ปุ่นยังฮิตกินผักชีจนเกิดกระแสผักชีฟีเวอร์ แล้วบ้านเราซึ่งหากินผักชีได้ง่ายมาก ๆ เจอแทบจะทุกเมนูแบบนี้ จะพลาดผักชีให้อายคนญี่ปุ่นไปทำไมกันล่ะเนอะ
ผักชี สรรพคุณมีอะไรบ้าง
ประโยชน์ของผักชีที่อยากให้รู้กันอย่างชัดเจน เราจะแยกเป็นสรรพคุณทางยาของผักชีตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน และประโยชน์ของผักชีตามฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
สรรพคุณทางยาของผักชีตามภูมิปัญญา
ผักชีมีสรรพคุณดี ๆ แทบจะทุกส่วน เริ่มจากส่วนใบผักชี ลำต้น เมล็ดผักชี และราก ตามนี้
- ใบผักชี ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้อาการวิงเวียนศีรษะ รักษาอาการอาหารเป็นพิษ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เมล็ดผักชี แก้ปวดฟัน รักษาแผลในปาก และผลผักชียังสามารถแก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร และบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ด้วย
- ต้นสด มีรสเผ็ด ช่วยขับผื่นหัดให้ออกเร็วขึ้น ขับเหงื่อ ขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร ละลายเสมหะ และรักษาโรคริดสีดวงทวาร
- รากผักชี ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยขับพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง รักษาหิด และอีสุกอีใส
วิธีและปริมาณที่ใช้ผักชีเป็นยา
ใช้ต้นผักชีแห้ง 10-15 กรัม หรือต้นสด 60-150 กรัม มาต้มเอาน้ำมาดื่ม หรือคั้นน้ำผักชีมาดื่ม หากใช้ภายนอกให้เอาน้ำต้มผักชีมาชะล้าง หรือนำผักชีต้มมาตำและพอกให้ทั่ว หรือหากจะใช้เมล็ดผักชีแก้ปวดฟัน รักษาแผลในปาก ให้นำเมล็ดผักชีต้มน้ำ แล้วเอาน้ำผักชีมาบ้วนปากบ่อย ๆ
ทั้งนี้เราสามารถรับประทานผักชีเพื่อบำรุงสุขภาพในขนาดที่ใช้ประกอบอาหารตามปกติได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นะคะ
ข้อควรระวัง
สำหรับคนที่มีประวัติแพ้พืชวงศ์ผักชี (Apiaceae) หรือแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม และหอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เพราะผักชีอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น เป็นผื่นแพ้ ทำให้ผิวไวต่อแสงแดด เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง เยื่อบุจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ รวมไปถึงอาการหลอดลมเกร็งตัวได้
อย่างไรก็ตาม ผักชีเป็นผักที่มีกลิ่นฉุน จึงไม่ควรกินผักชีในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้มีกลิ่นตัวแรงขึ้น หรือหากกินผักชีในปริมาณมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการตาลาย ลืมง่ายขึ้นด้วย
ประโยชน์ของผักชีเชิงวิทยาศาสตร์
ก่อนจะไปถึงสรรพคุณของผักชี เรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดในปริมาณ 100 กรัมกันก่อนดีกว่า
ผักชีสด 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม
- น้ำตาล 0.87 กรัม
- เส้นใย 2.8 กรัม
- ไขมัน 0.52 กรัม
- โปรตีน 2.13 กรัม
- วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
- เบต้าแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม
- ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม
- วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม
- วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม
- วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม
- วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 27 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 310 ไมโครกรัม
- แคลเซียม 67 มิลลิกรัม
- เหล็ก 1.77 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม
- โซเดียม 46 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.5 มิลลิกรัม
อย่างไรก็ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังระบุสรรพคุณของผักชีได้แค่ในหนูทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคน ทว่าจากการศึกษาสรรพคุณของผักชีก็พบว่า ส่วนผลผักชี น้ำมันหอมระเหยจากผลผักชี ส่วนใบ และส่วนต้น มีประโยชน์ตามนี้
1. ต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรีย และเชื้อรา
คนญี่ปุ่นฮิตกินผักชีตรงส่วนใบและส่วนต้นผักชีนี่ล่ะค่ะ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า ใบและต้นของผักชีประกอบไปด้วยสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดี อันได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) สารกลุ่มแลคโตน (lactones) สารกลุ่มฟีโนลิก สารกลุ่มแทนนิน และสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้ยังพบว่าใบผักชีและต้นผักชีอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ด้วยนะคะ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบว่า ส่วนใบและลำต้นผักชีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง มีสรรพคุณต้านอาการชักและต้านการถูกทำลายของเซลล์สมอง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และมีฤทธิ์ช่วยย่อยในระบบทางเดินอาหาร
2. กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
ผลแก่ของผักชีเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม สามารถนำไปประกอบในตัวยา ใช้แต่งกลิ่นอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นต่อมกระเพาะอาหารและลำไส้ให้ขับน้ำดีและน้ำย่อยออกมามากขึ้น อีกทั้งในส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผลผักชีแก่ยังพบว่ามีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
3. ลดน้ำตาลในเลือด
ผลผักชีและสารสกัดจากผลผักชีมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง glimepiride, glyburide, insulin, pioglitazone และ rosiglitazone เพื่อเสริมประสิทธิภาพตัวยามากขึ้นก็ได้ค่ะ
4. ลดความดันเลือด
นอกจากผักชีจะมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลและเมล็ดผักชียังพบว่า ส่วนของผักชีดังกล่าวมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ และสามารถเสริมประสิทธิภาพให้ยาลดความดันโลหิต เช่น captopril, enalapril, losartan, valsartan, diltiazem, amlodipine, hydrochlorothiazide และ furosemide ทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้นด้วย
5. ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่มาจากการบริโภคอาหารปิ้งย่าง
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Nutrition เผยว่า เครื่องเทศรสเผ็ดร้อนอย่างผักชีมีส่วนช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มแอทเทอโรไซคลิกเอมีน หรือ HCAs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการประกอบอาหารประเภทปิ้งย่างได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science ที่ได้ผลการศึกษาไปในทางเดียวกันด้วย
6. ต้านอาการอักเสบและบำรุงสายตา
จะเห็นได้ว่าผักชีสด 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนมากถึง 3,930 ไมโครกรัม ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ซึ่งตรงกับการศึกษาของ Plant Foods for Human Nutrition ที่ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากของผักชีมีส่วนช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ พร้อมทั้งเบต้าแคโรทีนยังมีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของดวงตาได้ดีอีกด้วย
สรรพคุณของผักชีมีดีขนาดนี้ก็เชื่อว่าหลายคนชักอยากจะปลูกผักชีกินเองที่บ้านบ้างแล้วแน่ ๆ ถ้างั้นมาดูวิธีปลูกผักชีที่เรานำมาฝากกันได้เลย
ใช้ต้นผักชีแห้ง 10-15 กรัม หรือต้นสด 60-150 กรัม มาต้มเอาน้ำมาดื่ม หรือคั้นน้ำผักชีมาดื่ม หากใช้ภายนอกให้เอาน้ำต้มผักชีมาชะล้าง หรือนำผักชีต้มมาตำและพอกให้ทั่ว หรือหากจะใช้เมล็ดผักชีแก้ปวดฟัน รักษาแผลในปาก ให้นำเมล็ดผักชีต้มน้ำ แล้วเอาน้ำผักชีมาบ้วนปากบ่อย ๆ
ทั้งนี้เราสามารถรับประทานผักชีเพื่อบำรุงสุขภาพในขนาดที่ใช้ประกอบอาหารตามปกติได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นะคะ
ข้อควรระวัง
สำหรับคนที่มีประวัติแพ้พืชวงศ์ผักชี (Apiaceae) หรือแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม และหอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เพราะผักชีอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น เป็นผื่นแพ้ ทำให้ผิวไวต่อแสงแดด เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง เยื่อบุจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ รวมไปถึงอาการหลอดลมเกร็งตัวได้
อย่างไรก็ตาม ผักชีเป็นผักที่มีกลิ่นฉุน จึงไม่ควรกินผักชีในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้มีกลิ่นตัวแรงขึ้น หรือหากกินผักชีในปริมาณมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการตาลาย ลืมง่ายขึ้นด้วย
ประโยชน์ของผักชีเชิงวิทยาศาสตร์
ก่อนจะไปถึงสรรพคุณของผักชี เรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดในปริมาณ 100 กรัมกันก่อนดีกว่า
ผักชีสด 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม
- น้ำตาล 0.87 กรัม
- เส้นใย 2.8 กรัม
- ไขมัน 0.52 กรัม
- โปรตีน 2.13 กรัม
- วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
- เบต้าแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม
- ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม
- วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม
- วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม
- วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม
- วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 27 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม
- วิตามินเค 310 ไมโครกรัม
- แคลเซียม 67 มิลลิกรัม
- เหล็ก 1.77 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม
- แมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม
- โซเดียม 46 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.5 มิลลิกรัม
อย่างไรก็ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังระบุสรรพคุณของผักชีได้แค่ในหนูทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคน ทว่าจากการศึกษาสรรพคุณของผักชีก็พบว่า ส่วนผลผักชี น้ำมันหอมระเหยจากผลผักชี ส่วนใบ และส่วนต้น มีประโยชน์ตามนี้
1. ต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรีย และเชื้อรา
คนญี่ปุ่นฮิตกินผักชีตรงส่วนใบและส่วนต้นผักชีนี่ล่ะค่ะ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า ใบและต้นของผักชีประกอบไปด้วยสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดี อันได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) สารกลุ่มแลคโตน (lactones) สารกลุ่มฟีโนลิก สารกลุ่มแทนนิน และสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้ยังพบว่าใบผักชีและต้นผักชีอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ด้วยนะคะ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบว่า ส่วนใบและลำต้นผักชีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง มีสรรพคุณต้านอาการชักและต้านการถูกทำลายของเซลล์สมอง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และมีฤทธิ์ช่วยย่อยในระบบทางเดินอาหาร
2. กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
ผลแก่ของผักชีเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม สามารถนำไปประกอบในตัวยา ใช้แต่งกลิ่นอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นต่อมกระเพาะอาหารและลำไส้ให้ขับน้ำดีและน้ำย่อยออกมามากขึ้น อีกทั้งในส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผลผักชีแก่ยังพบว่ามีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
3. ลดน้ำตาลในเลือด
ผลผักชีและสารสกัดจากผลผักชีมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง glimepiride, glyburide, insulin, pioglitazone และ rosiglitazone เพื่อเสริมประสิทธิภาพตัวยามากขึ้นก็ได้ค่ะ
4. ลดความดันเลือด
นอกจากผักชีจะมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลและเมล็ดผักชียังพบว่า ส่วนของผักชีดังกล่าวมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ และสามารถเสริมประสิทธิภาพให้ยาลดความดันโลหิต เช่น captopril, enalapril, losartan, valsartan, diltiazem, amlodipine, hydrochlorothiazide และ furosemide ทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้นด้วย
5. ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่มาจากการบริโภคอาหารปิ้งย่าง
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Nutrition เผยว่า เครื่องเทศรสเผ็ดร้อนอย่างผักชีมีส่วนช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มแอทเทอโรไซคลิกเอมีน หรือ HCAs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการประกอบอาหารประเภทปิ้งย่างได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science ที่ได้ผลการศึกษาไปในทางเดียวกันด้วย
6. ต้านอาการอักเสบและบำรุงสายตา
จะเห็นได้ว่าผักชีสด 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนมากถึง 3,930 ไมโครกรัม ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ซึ่งตรงกับการศึกษาของ Plant Foods for Human Nutrition ที่ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากของผักชีมีส่วนช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ พร้อมทั้งเบต้าแคโรทีนยังมีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของดวงตาได้ดีอีกด้วย
สรรพคุณของผักชีมีดีขนาดนี้ก็เชื่อว่าหลายคนชักอยากจะปลูกผักชีกินเองที่บ้านบ้างแล้วแน่ ๆ ถ้างั้นมาดูวิธีปลูกผักชีที่เรานำมาฝากกันได้เลย
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานมาก เพราะผักชีมีโพแทสเซียมสูง อาจเป็นอันตรายได้ ส่วนที่มีข้อมูลแชร์กันว่า ให้ดื่มน้ำผักชีต้มหรือปั่นทุกวันจะช่วยล้างไตให้สะอาดได้นั้น เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริงนะคะ หากป่วยโรคไตไม่ควรทำตามเด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายกับสุขภาพได้เลย
No comments:
Post a Comment